พระครูสุทธิวราภรณ์ (หลวงปู่สรวง วรสุทโธ)
เจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี หรือ หลวงปู่สรวง วรสุทฺโธนามเดิม
สรวง นามสกุล พรหมสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์
พ.ศ.2476 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ณ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 10 บ้านน้อยนาเวิน ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี
(ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ)
ตัดสินใจอุปสมบทตามเพื่อนครั้งที่
1 ณวัดศรีบุรีรัตนาราม ตำบลปากเพียว อำเภอเมือง
จังหวัดสระบุรี เมื่อ พ.ศ. 2496 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เนื่องในวโรกาสเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยหลังจากเรียนจบจากประเทศอังกฤษ
แล้วได้แยกกันไปจำพรรษา ณ วัดบ้านพึ่ง อำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
มีโอกาสได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่แขม หลวงปู่แขมได้สอนวิชาอาคมต่างๆ
อยุ่จวบจนตลอดพรรษา พ.ศ.2497 ปลายปีออกพรรษาเสร็จก็ได้ลาสิกขาและได้ไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ
หลังจากลาสิกขาแล้วก็ไดไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ
ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างสนุกสนานไม่ได้สนใจอะไรเที่ยวเล่นไปวันๆ ด้วยความที่เคยบวช
และมีอุปนิสัยในการบวช อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส
เบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน
ชีวิตเรานอกจากจะกินเที่ยวแล้วก็หาสาระแก่นสาระอะไรไม่ได้เลย
ไม่มีคุณค่าและความหมายสมกับได้เกิดมา
มีแต่ชักนำไปในทางที่ผิดมีแต่คิดไปในสิ่งที่ตกต่ำ ต่อไปนี้สิ่งใด ที่มันอยากทำเราก็จะไม่ทำ
สิ่งไหนที่มันต้องการมากๆ
เราก็จะไม่หามาให้มันลองดูสิทำไม่มันหลงมัวเมาอยู่อย่างนี้พอหนักๆ
เข้ามันหลายปีก็มาหวนคิดอยากบวชให้โยมพ่อโยมแม่
พ.ศ. 2500 ได้เข้าพิธีอุปสมบทโดยมีเจ้าอธิการคำ อิณณมุตโต วัดบางชะแงะ
อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์
ก่อนเข้าพรรษาได้ลาญาติโยมไปจำพรรษากับหลวงปู่แขม ที่วัดสำเภาร่ม
อำเภอเดิมบางยางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะยังมีความสนใจในสรรพเวทย์วิทยาคมต่างๆ
ตามประสาความนิบมของคนในสมัยนั้น ได้จำพรรษากับหลวงปู่แขม 2 พรรษาแล้วได้ตัดสินใจกราบลาหลวงปู่แขมเพออกเดินธุดงคืไปหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน
และตั้งใจจะไปหาพระเอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น และหลวงปู่คำบุ ธมมธโร
ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น
ซึ่งท่านมึความชำนาญในเรื่องการฝึกกรรมฐาน และจาริกธุดงค์หลวงปู่สรวงท่านได้มาพักปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่คำบุอยู่ป่าช้าใกล้บ้านเหล่าขวาวเป็นป่าดงใหญ่ซึ่งอยู่ติดกับเขตบ้านโคกเลาะและบ้านเหล่าขวาว
ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้นได้อำลาญาติโยมออกธุดงค์ไปพร้อมกับพระอาจารย์คำบุ
เพื่อไปหาพระอาจารย์จวน ณ ถ้ำจันทร์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย
พ.ศ.2502 อายุ 24 ปี พรรษา 1 ได้ญัตติใหม่เป็นธรรมยุค
ณ วัดประชานิยม ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างดินแดน จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาในด้านกรรมฐานแล้วได้ออกธุดงค์ไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล
พ.ศ.2503-พ.ศ.2507 อายุ 27-31 ปี พรรษ 2-6
จำพรรษาที่วัดโพนเมืองน้อยและวัดป่าบ้านเหล่าขวาว ตำบลโพนเมืองน้อย
จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ)
กลับมาจำพรรษาอยู่ที่บ้านเพื่ออยู่อุปการะโยมแม่ซึ่งแก่ชรา
แล้วนำญาติโยมชาวบ้านก่อสร้างศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากเช่น
ศาลาบ้านโพนเมืองน้อย ศาลาบ้านเหล่าขวาว และศาลาบ้านโคกเลาะ เป็นต้น
ในระหว่างออกพรรษาของแต่ละปีหลวงปู่จะออกธุดงค์ไปหาครูบาอาจารย์และได้ร่วมเดินไปด้วยกัน
4 องค์คือ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน
พระอาจารย์คำบุ พระอาจารย์สิงห์ทอง และบางครั้งก็เดินธุดงค์ไปพร้อมกับ พระอาจารย์วัน อุตตโม เพียงสององค์
จนถึงปัจจุบันหลวงปู่สรวง
วรสุทฺโธ ได้นำญาติโยมซึ่งเป็นชาวบ้านและคณะญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาจากจังหวัดต่างๆ
และกรุงมหานครฯ ส้รางอุโบสภและศาลาการเปรียญ วัดโคกเลาะ โดยมีพระครูปิยวรธรรม
เจ้าอาวาสสัดโคกเลาะ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ยุคแรกๆ ของหลวงปู่สรวง นำญาติโยมสร้างอุโบสถและศาลาการเปรียญวัดเหล้าขวาว
โดยมีพระครูคุณวิริยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเหล่าขวาว
และนำญาติโยมบูรณะอุโบสถและปิดทองพระประธานในอุโบสถวัดอำนาจ
โดยมีพระครูสิริสีลวัตร เจ้าอาวาสวัดอำนาจ ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านโคกเลาะ
จึงความใกล้ชิดเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า บ้านโพนเมืองน้อย บ้านโคกเลาะ
และบ้านเหล่าขวาว
ซึ่งมีความผูกพันทางสายเลือดดังจะเห็นได้จากการจัดงานในแต่ละครั้ง ณ
วัดถ้ำพรมสวัสดิ์
ได้มีคณะสงฆ์และชาวบ้านจากจังหวัดอำนาจเจริญในการร่วมงานทุกครั้งจากอดีตจนถึงปัจจุบันและหลวงปู่ก็ได้เมตตาอนุเคราะห์คณะลูกศิษย์ในการนำคณะญาติโบมสร้างเนาสนะต่างๆ
อย่างมากมายแค่วัดต่างๆ ในจังหวัดอำนาจเจริญ
ดังนั้นในการครั้งนี้หลวงปู่สรวง
วรสุทฺโธ วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ จึงได้เมตตาอนุเคราะห์คณะสงฆ์และชาวบ้าน
ซึ่งประกอบด้วย บ้านโคกเลาะ บ้านเหล่าขวาว บ้านอำนาจ สร้างเหรียญมงคลรุ่น รักบ้านเกิด ขึ้นเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างเสนาสนะต่างๆ
ภายในวัดเพื่อในการประกอบกิจของสงฆ์ และชาวบ้านต่อไป ดังคำกล่าวของหลวงปู่ว่า..
การได้เกิดเป็นมนุษย์
ได้พบพระพุทธศาสานาถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ
ฉะนั้นจงอาศัยร่างกายอันนี้
บำเพ็ญบุญกุศลให้มากๆ จะได้ไม่เสียที ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์และพบพระพุทธศาสนา . . .